อยากเขียนContentโน้มน้าวได้ดี ใช้วิธีนี้ซิครับ

        มีไอเดียว่าจะเขียนเรื่องอะไร และพอจะเขียนก็ถ่ายทอดไม่ออกซ่ะอย่างนั้น  หรือคิดไอเดียไม่ออก แต่ไม่รู้ว่าจะถ่ายทอดอย่างไร  เป็นปัญหาโลกแตกของคนเขียนคอนเทนต์ทุกคนครับ ผมก็เป็นหนึ่งในนั้น ในยุคที่ปัจจุบัน ที่ไอเดียมีอิทธิพลอย่างมากในชีวิตของเรา แต่เรากลับถ่ายทอดออกมาไม่ได้นี่สิมันน่าเสียดาย

 

       ถึงคุณจะมีไอเดีย ที่บรรเจิดเลิศเลอ ขนาดไหนก็ตามแต่คุณไม่มีศิลปะ หรือหลักการที่สามารถโน้มน้าวให้ผู้รับคอนเทนต์ของคุณไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการไม่ได้ คอนเทนต์ หรือไอเดียนั้นก็ไม่ต่างจากสิ่งที่ไร้ค่า  การเขียนคอนเทนต์ที่ดีไม่ใช่เพียงแค่ให้ผู้อ่าน อ่านและคิดเท่านั้น คอนเทนต์ที่คุณเขียนนั้นจะต้องมีอิทธิพลนำทางไปสู่เป้าหมายที่คุณต้องการได้ ถึงจะเจ๋งจริง และมีประโยชน์ต่อคุณเอง

       ศาสตราจารย์สจ๊วด ไดมอนด์ ( Stuart Diamond )  ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเยล ( Yale University ) ผู้เชียวชาญระดับโลก นักเขียนรางวัล Pulitzer Prize ได้กล่าวไว้ว่า “ถ้าอยากประสบความสำเร็จด้านการสื่อสาร ต้องใส่ใจรูปแบบการเขียนมากกว่าเนื้องหาเสียอีก ” เพราะถึงแม้คุณจะมีเนื้อหาสุดเจ๋ง ไร้เทียมทาน แต่คุณไม่สามารถถ่ายทอด ไม่มีโครงสร้างการเขียนที่ดีแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะจูงใจให้ผู้อ่าน ทำตามเป้าหมายที่คุณต้องการได้

       ด้วยเหตุผลที่กล่าวมา ผมจึงขอแนะนำเครื่องมือในการช่วยให้การเขียนคอนเทนต์นั้นง่ายขึ้น ถ่ายทอดและจูงใจได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเครื่องมือ “O – R – E – O  MAP”  ( อ้างอิงจากหนังสือ ศาสตร์แห่งการเขียน ที่โน้มน้าวใจ ได้ทุกคน แต่งโดย ชง ชุกฮี  สำนักพิมพ์ Amarin How To “

       O = Opinion  ความเห็น

              การนำเสนอความเห็นที่เป็นแกนกลางของเรื่อง  ถ้าจะแปลอีกความหมายหนึ่งก็คือ เจาะเข้าประเด็นหรือเนื้่อหาหลักเลย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่พบเจอ  ความสำเร็จที่เกิดขึ้น ผลการดำเนินการ หรืออะไรก็ตามที่เป็นประเด็นหลัก หมดยุคในการพรรณาอะไร ต่อมิอะไร วกไว วนมา กว่าจะเข้าเนื้อหาหลักแล้วครับ คนอ่านหลับ เบื่อกันพอดีครับ

       R = Reason  เหตุผล

              ให้นำเสนอ อธิบายสาเหตุที่ทำให้เกิดผล ตามประเด็นในข้อแรก หากเป็นเรื่องความสำเร็จไม่ว่าเรื่องอะไร ให้อธิบายว่าความสำเร็จนี้เกิดจากอะไร  หากเป็นปัญหา ก็บอกว่าปัญหานี้เกิดจากสาเหตุใด  หรือเรื่องอะไรก็แล้วแต่ หากคุณเขียน คอนเทนต์ แล้ว ตามความคิดเห็นใน Opinion  ก็ต้องมากล่าวถึงเหตุผลที่เกิดในข้อนี้ครับ

      E = Example  ตัวอย่าง

             เป็นการเสริมเนื้อหา Content ให้น่าเชื่อถือ และโน้มน้าวใจมากขึ้นด้วยตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม เป็นเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เป็นเหตุการณ์ตัวอย่างที่แต่งขึ้น ที่สำคัญตัวอย่างที่ยกมา ต้องเกี่ยวพัน เกี่ยวข้องกับ ความคิดเห็น และเหตุผล ที่กล่าวมาก่อนหน้านี้น่ะครับ

      O = Opinion ความเห็น

             ความเห็นข้อนี้ ไม่เหมือนกับ ความเห็นในข้อแรกน่ะครับ เป็นความเห็นที่ผู้เขียน Content ต้องการให้ทำเพื่อไปสู่เป้าหมาย หรือที่เรียกกันในศัพท์สื่อออนไลน์ว่า “Call to Action” นั่นเอง  เช่นหากคุณบรรยายถึงผลประกอบการของบริษัทที่เติบโตในปีนี้ ด้วยเหตุผล และยกตัวอย่างแล้ว  ข้อนี้ คุณก็เสนอความต้องการของบริษัทคือ เราจะทำเช่นนี้ได้อีกในปีต่อๆไป  และเป็นการเน้นย้ำข้อสรุปอีกครั้งใน Content

 

       เป็นอย่างไรบ้างครับ สำหรับ เครื่องมือ “O – R – E – O  MAP” ซึ่งผมได้ใช้เป็นหลักในการเขียน คอนเทนต์ ของผมมาโดยตลอด อีกทั้งความไม่ยุ่งยากในการมาปรับใช้ในโครงสร้างการเขียน  ไม่ว่าคุณจะเป็นมือใหม่หัดเขียน  เป็นมืออาชีพด้านการเขียน ไม่ว่าจะเขียนด้านโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ในการประชุม หรืออะไรก็ตาม คุณสามารถใช้เครื่องมือนี้เป็นหลักในการเขียน หรือพรีเซนต์ งานได้ทั้งนั้น  ลองนำไปปรับใช้กันดูน่ะครับ

Leave a Comment